ประเพณีวิ่งควายภาคกลาง

ประเพณีวิ่งควาย
ช่วงเวลา 
          ในวันขึ้น 14 ค่ำเดือน 11 ก่อนออกพรรษา 1 วัน ของทุกปี

ความสำคัญ 
          ประเพณีวิ่งควาย เป็นประเพณีเกี่ยวกับอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งตกทอดมาจากบรรพบุรุษจนถึงปัจจุบัน จุดมุ่งหมายเพื่อให้ชาวบ้านได้เตรียมของไปถวายวัด ปัจจัยไทยธรรมได้พักผ่อนและได้สังสรรค์กันระหว่างชาวบ้านซึ่งเหนื่อยจากงานและให้ควายได้พักเนื่องจากต้องตรากตรำในการทำนา ปัจจุบันประเพณีวิ่งควายเป็นประเพณีของจังหวัดชลบุรี โด่งดังเป็นที่รู้จักของชาวไทยและต่างประเทศ

ประเพณีวิ่งควาย

 พิธีกรรม
          เนื่องจากสมัยก่อน ประเทศไทยทำอาชีพ เกษตรกรเป็นหลัก ซึ่งก็จะใช้ควายเป็นกำลังหลักในการ ไถ่หว่านพืชพันธุ์ ชาวบ้านจึงมีการ เลี้ยงควายไว้ใช้งาน เป็นจำนวนมาก และหลังจากสิ้นสุดฤดูกาล เพาะปลูกชาวบ้านก็ได้รวมตัวกัน จัดการแข่งขันวิ่งควายขึ้น เพื่อเป็นการพักผ่อน สร้างความสนุกสนาน สร้างความสามัคคีในหมู่คณะขึ้น ซึ่งจัดขึ้นครั้งแรกที่จังหวัดชลบุรี
          ในงานแข่งขัน ประเพณีวิ่งควาย ชาวบ้านต่างก็ประดับประดาควายของตัวเองให้สวยงาม เพื่อนเป็นการสร้างสีสันให้กับ ประเพณีวิ่งควาย ภายหลังจึงได้มีการประกวด ควายสวยงามด้วย ซึ่งนอกจากจะมีการ ประกวดควายสวยงามแล้ว ภายในงานก็จะ มีการทำขวัญควาย (ซึ่งก็จะเหมือนกับพิธีสู่ขวัญ มีบายสีสู่ขวัญ)
          ในปัจจุบันทางเทศบาลเมืองชลบุรี จะทำการจัดงาน ประเพณีวิ่งควายขึ้นที่อำเภอบ้านบึง ในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือนสิบเอ็ด  ที่ตลาดหนองเขิน อำเภอบ้านบึง ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนสิบเอ็ด และที่วัดดอนกลาง ตำบลแสนสุข อำเภอเมือง ก็จะจัด ประเพณีวิ่งควาย ขึ้นในวันแรม 1 ค่ำเดือนสิบเอ็ด ซึ่งเป็นวันทอดกฐินประจำปี ของทางวัดดอนกลางด้วย
          ถึงแม้ว่าในปัจจุบัน ประชาชนส่วนใหญ่จะ เปลี่ยนจากควาย มาเป็นเครื่องจักร ในการประกอบอาชีพ เกษตรกรรมแล้ว แต่ชาวจังหวัดชลบุรี และเทศบาลเมืองชลบุรีก็จัง คงสืบสาน ประเพณีวิ่งควาย เพื่อความเป็นเอกลักษณ์

ประเพณีผีตาโขนภาคอีสาน

ประเพณีผีตาโขน
ช่วงเวลา
          ช่วงเดือน พฤษภาคม-มิถุนายน ของทุกปี

ความสำคัญ 
          การละเล่นผีตาโขนมีมานานแล้วแต่ไม่มีหลักฐานปรากฎแน่ชัดว่ามีมาตั้งแต่เมื่อใด แต่ชาวบ้านมีความเชื่อว่าการแห่ ผีตาโขน เกิดขึ้นเมื่อครั้งที่พระเวสสันดรและ นางมัทรี กำลังจะออกจากป่ากลับสู่เมือง บรรดาผีป่า และสัตว์นานาชนิด มีความอาลัยจึงแฝงตนมากับชาวบ้าน เพื่อมาส่งพระเวสสันดร และนางมัทรีกลับเมืองซึ่งเรียกกันว่า ผีตามคน หรือ ผีตาขน

ผีตาโขน : ประเพณีท้องถิ่น จังหวัดเลย

ประเพณีผีตาโขน

พิธีกรรม 
          มีการจัดทำพิธี 2 วัน คือ วันแรก (วันโฮม) ขบวนผีตาโขนจะแห่รอบหมู่บ้านตั้งแต่เช้ามืด เป็นการทำพิธีอัญเชิญพระอุปคุตเข้ามาอยู่ที่วัด ในวันที่สองเป็นพิธีการแห่พระเวสสันดรและนางมัทรีเข้าเมือง โดยสมมุติให้วัดเป็นเมือง สำหรับวันที่สองของงานนี้ ชาวบ้านยังได้นำบั้งไฟมาร่วมในขบวนแห่เพื่อเป็นพิธีขอฝนโดยแห่รอบวัด 3 รอบ ในขณะที่แห่อยู่นั้นเหล่าผีตาโขนทั้งหลายก็จะละเล่นหยอกล้อผู้คนไปเรื่อย ๆ เพื่อทำให้เกิดความสนุกสนาน หลังจากเสร็จพิธีการแห่แล้วบรรดาผู้ละเล่นผีตาโขนจะนำเครื่องเล่นผีตาโขน และอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบพิธีไปล่องลงแม่น้ำหมัน และในตอนค่ำของวันเดียวกัน จะมีการฟังเทศน์มหาชาติทั้ง 13 กัณฑ์
ผีตาโขน จะแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ ผีตาโขนใหญ่และผีตาโขนเล็ก
        ผีตาโขนใหญ่ จะสานมาจากไม่ไผ่มีขนาดใหญ่กว่าคนประมาณ 2 เท่าแล้วจะประดับตกแต่งหน้าตาด้วยเศษวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น ในการทำผีตาโขนใหญ่ในแต่ละปีจะทำ 2 ตัวคือชายหนึ่งตัว และหญิงอีกหนึ่งตัวเท่านั้น ผู้ที่มีหน้าที่ทำผีตาโขน ใหญ่จะต้องได้รับอนุญาตจากผีหรือเจ้าก่อน และเมือได้รับอนุญาต แล้วต้องทำผีตาโขนใหญ่ทุกๆ ปีหรือต้องทำติดต่อกันอย่างน้อย 3 ปีเพราะว่าคนที่ไม่ได้รับอนุญาตก็จะไม่มีสิทธิ์ทำผีตาโขนใหญ่ เวลาแห่จะต้องมีคนเข้าไปอยู่ในตัวหุ่น
       ผีตาโขนเล็ก  ไม่ว่าจะเป็นเด็ก หรือผู้ใหญ่ก็มีสิทธิ์ทำผีตาโขนเล็กเพื่อเข้าร่วมสนุกสนานกันได้ทุกคน การเล่นของผีตาโขนเล็กค่อนข้างผาดโผนผู้หญิงจึงไม่ค่อยนิยมเข้าร่วม
การแต่งกายของผู้ที่เข้าร่วมในพิธีแห่ผีตาโขน จะแต่งกายคล้ายกันกับผีปีศาจ ที่สวมศีรษะด้วยที่นึ่งข้าวเหนียวหรือว่ากระติ๊บข้าวเหนียวนั่นเอง และใส่หน้ากากที่ทำด้วยกาบมะพร้าวแกะสลัก มีการละเล่นร้องรำทำเพลงกันอย่างสนุกสนานในขบวนแห่

มโนราห์

คนพื้นเมืองแต่ก่อนถือกันว่า ศิลปะการแสดงเป็นสิ่งเชิดหน้าชูตา เป็นศาสตร์ชั้นแนวหน้าที่ทุกคนต้องเรียนรู้ ต้องสนใจ และพยายามทำให้ได้ เพราะเป็นเกียรติยศศักดิ์ศรีชื่อเสียงอันสูงส่งไม่ยิ่งหย่อนกว่าตำแหน่งสมุหเทศาภิบาล ข้าหลวงหรือผู้ว่าราชการจังหวัดทีเดียว เพราะเป็นธรรมเนียม ของผู้ชายจะไปสู่ขอลูกสาวใคร ฝ่ายพ่อตาแม่ยาย เขาจะต้องมีความภูมิใจในลูกเขย โดยจะต้องถามปัญหา 2 ข้อ ให้ตอบก่อน คือ

รำมโนราห์เป็นหรือไม่

ขโมยควายเป็นหรือไม่

       ถ้าไม่เป็นหรือขาดความรู้ความสามารถ เขาไม่พึงพอใจ ก็จะไม่ยอมยกลูกสาวให้ เพราะถือว่าเป็นบุคคลที่ขาดความรู้ความสามารถประสบการณ์ย่อมไม่สามารถจะดูแลเลี้ยงดูลูกเมียได้ ลูกของเขาจะได้รับความทุกข์ยาก เนื่องจากศิลปะการแสดง นอกจากหากินได้แล้ว ยังเป็นเครื่องเชิดหน้าชูตาประดับบารมี คนนับหน้าถือตากว้างขวางเข้าได้ทุกสังคม ผู้คนยกย่องนับถือย่อมเป็นเครื่องช่วยให้การดำรงชีวิตเจริญก้าวหน้า เมื่อเลิกเล่นมีวิชาติดตัวก็ยังเป็นครูถ่ายทอดวิชาแก่ลูกศิษย์หากินได้อีกจนตาย เป็นนายอำเภอ เป็นผู้ว่า เป็นเทศา มีถอดได้มีเกษียณแต่การเป็นนายรงหรือมโนราห์ไม่มีใครถอดได้ไม่มีเกษียณ ไปทางไหนก็มีคนนับหน้าถือตา เพราะมีแต่สร้างความนิยมรักใคร่ตลอดชีวิต
       ส่วนที่ถามเรื่อง “การลักขโมยควาย” ทำได้หรือป่าวนั้น ไม่ได้ส่งเสริมเรื่องลักขโมย หากเพื่อจะได้ล่วงรู้คุณสมบัติคนว่า มีความเป็นลูกชายใจถึงกล้าได้กล้าเสีย มีความเป็นนักสู้ เป็นนักเลงรู้จักต่อสู้แข่งขันดิ้นรน สามารถปกป้องคุ้มครองวัวควายเครื่องมือหากินและครอบครัวของตนให้อยู่รอดได้หรือไม่ ถือเป็นภูมิปัญญาในการพิทักษ์ชีวิตและทรัพย์สินสามารถเป็นที่พึ่งพาของครอบครัวได้ อันแสดงถึงวิถีชีวิตการครองเรือน ต้องมีความเข็มแข็งอดทนเป็นผู้นำ มีความรู้ความสามารถ นอกจากรู้จักทำมาหากินแล้ว ยังต้องฉลาดมีไหวพริบทันเพื่อน รักษามรดกทรัพย์สมบัติที่สร้างไว้ได้อีกด้วยนั่นเอง เพราะสภาพสังคมสิ่งแวดล้อมยุคโบราณมีความจำเป็นต้องรู้จักรักษาตัวรอดเป็นยอดดี เป็นทั้งบู๊และบุ๋นความสามารถรอบตัว จึงถือเป็น “คนเต็มคน”
       มโนราห์เป็นการแสดงที่มีฐานรากกำเนิดกลุ่มเดียวกับ “มะโย่ง” ซึ่งมีอิทธิพลอินเดียใต้ผสมอยู่และกล่าวกันว่าดั้งเดิมอาจจะเกิดที่เมืองปัตตานี แล้วได้แพร่ไปยังดินแดนปลายแหลมมลายูและหมู่เกาะต่างๆ เนื่องจากเมืองลังกาสุกะ(ปัตตานียุคโบราณ)  เป็นเมืองศูนย์กลางที่สำคัญบนแหลมมลายูตอนล่าง และติดต่อค้าขายรับวัฒนธรรมอินเดียมาก่อน เดิมเป็นละครที่ยังไม่มีแบบแผนชัดเจน หนักไปทางการเต้นการร่ายรำไม่ได้เล่นเป็นเรื่องราว ต่างฝ่ายต่างมีความคิดความนิยมเป็นของตนเอง ชาวอินเดีย อาจจะเข้ามาช่วยเป็นครูเพิ่มเติมให้บ้าง เพราะพิธีกรรมบูชาเทพเจ้าต่าง ๆ ในศาสนาพราหมณ์ โดยเฉพาะพิธีตรียัมปวาย จำเป็นต้องมีการร่ายรำประกอบและท่ารำบางท่าของมโนราห์ก็ใกล้ไปทางอินเดียปรากฏอยู่ก็เป็นได้ อีกทั้งตามปกติราชสำนักย่อมใกล้ชิดกับพราหมณ์อยู่แล้ว ทางเมืองนครศรีธรรมราชยังมีการร่ายรำทำขบวนแห่มาจนทุกวันนี้ เรียกรำ “ปิเหนง” ทำให้ต่อมาจึงได้มีการพัฒนาแตกแขนงในรายละเอียดต่างกันออกไปบ้างในแต่ละท้องถิ่น และเกิดปัญหาเรื่องแหล่งต้นกำเนิด
       มโนราห์เป็นศิลปะการแสดงชั้นสูงมีกำเนิดจากในรั้ววังเจ้าเมือง จุดเด่นที่การรำ การร้องและการแต่งกาย ยิ่งถ้าเล่นเรื่องที่คนชอบติดใจก็จะยิ่งได้รับความนิยมชมชอบมาก เรื่องที่นิยมเล่นสมัยก่อน คือ เรื่องพระสุธน นางมโนราห์จนติดปากติดใจ จึงเป็นเหตุให้เรียกการแสดงนี้ว่า “โนรา” หรือ “มโนราห์” สืบมา
       แหล่งกำเนิดมโนราห์น่าจะเป็นบริเวณดินแดนแหลมมลายูแต่ครั้งสมัยตามพรลิงค์ หรือสมัยศรีวิชัย ราวพุทธศตวรรษที่ 11-16 อันเป็นช่วงที่เมืองสทิงพระเจริญรุ่งเรืองสูงสุด เนื่องจากเกิดชุมชนเกิดบ้านเมืองกระจายอยู่หนาแน่นตลอดแถบชายฝั่งตะวันออก นับตั้งแต่ชุมพร ไชยา ลงมาจรด กลันตัน ตรังกานู เมืองต่างๆ มีการติดต่อค้าขายเดินเรือเรียบชายฝั่งไปมาหาสู่กันอยู่ประจำ ลางครั้งก็เลยไปถึงแถบเกาะสุมาตรา เพราะสมัยก่อนต่างเป็นนครรัฐอิสระ ไม่มีเขตแดนกีดกั้น ถือศาสนาเดียวกันเชื่อสายเดียวกัน ศิลปะการแสดงจึงถ่ายทอดกันโดยง่าย จึงเป็นการยากที่จะชี้ว่าดั้งเดิมเกิดจากเมืองใดที่ตำนานการเกิดมโนราห์ชาตรีกล่าวว่า มโนราห์เกิดที่เมืองพัทลุงโบราณ(กรุงสทิงพาราณสี) ก็แสดงเค้ามูลว่าละครมโนราห์เป็นการแสดงประจำราชสำนักมาก่อน ต่อมาจึงแพร่หลายไปสู่ประชาชนทั่วไป และ แหล่งกำเนิดก็น่าจะเป็นกลุ่มเมือง 12 นักษัตร ตั้งแต่สมัยตามพรลิงค์นั่นเอง ซึ่งต่อมายังได้แพร่หลายขึ้นมาสูภาคกลาง ได้กลายเป็นละครชาตรีอีกด้วย
       การแต่งกายของมโนราห์คล้ายกับละครชาตรี นุ่งสนับเพลาพร้อม เครื่องทรงครบชุด นอกจากสวมเทริดแบบพื้นเมืองแล้ว การใช้ลูกปัดประดับห้อยระย้าอย่างสวยงามเต็มหน้าอก สวมเล็บยาวทั้ง 10 นิ้ว ก็ทำให้การร่ายรำอ่อนพลิ้วทะมัดทะแมงเฉียบไว ตัวนายพรานบุญ(จำอวด) จะต้องสวมหน้ากากเสมอเรียกว่า “หน้าพราน”
เครื่องคนตรีมี

โหม่ง

ฆ้องคู่

กลอง(โพน)

ปี่

ทับ(โทน)คู่

ฉิ่ง

แกระ

ประสานเสียงกัน และรับส่งเวลามีบทขับ มีลูกคู่อยู่หน้าโรง การร้องบทใช้ด้นเป็นคำกลอนสด
       มโนราห์มีท่ารำแม่บท 12 ท่า ที่เรียก “ท่าคล้องหงส์” ตลอดจนท่าเทพพนมท่าพรหมสี่หน้า เป็นท่าที่สวยงามนิยมรำกันมาก เรื่องที่นิยมเล่นในสมัยโบราณคือ พระรถเสน และมโนราห์ ในจังหวัดพัทลุงมีชื่อบ้านนามเมือง หรือ ชื่อสถานที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องในละครดังกล่าวนี้อยู่ทั่วไป และมักเป็นโบราณสถานมีอายุเก่าแก่ในประวัติศาสตร์
       การจัดแสดงมโนราห์ตามปกติจะจัดให้มีเวลามีงานแก้บน งานเทศกาล รำโรงครู (ไหว้ครู)  เป็นต้น มโนราห์จึงถือเป็นกิจกรรมความบันเทิงทางวัฒนธรรมที่เก่าแก่ สามารถสร้างความสัมพันธ์ทางความคิดและจิตวิญญาณต่อผู้ชมได้อย่างดี จึงมีความสำคัญต่อชีวิตชาวบ้านในตลอดชีวิต เป็นเครื่องแสดงปฏิกิริยาต่อความต้องการของสังคมแสดงให้เห็นปัญหาในสังคม มโนราห์จึงมีบทบาทในการถ่ายทอดประวัติศาสตร์สังคมได้เป็นอย่างดี
       คณะมโนราห์แห่งประวัติศาสตร์คือ “โนราเติม” เป็นคนเมืองตรัง ดังวลีทองที่เขาร้องย้ำอยู่เสมอว่า “ผมชื่อเติมบ้านเดิมอยู่ตรัง” ผู้คนจดจำเอกลักษณ์ของเขาได้แม่นกินใจ และชักใยให้เข้าสู่ภวังค์แห่งความบันเทิงอย่างไม่รู้ตัว มโนราห์เติมยังได้สร้างตำนานสร้างผลงานฝาก “วรรคทอง” ไว้ก้องหูฝังใจคนรุ่นหลังในการประชันโรงมาจนทุกวันนี้ ไม่มีใครเทียบได้หลายครั้ง เช่น
โนราเฟื่องโยนมาว่า….. “ถ้าแพ้ลูกเติมงานเหลิมไม่รำ” (เหลิม = งานเฉลิมพระชนพรรษา)
โนราเติมรับโต้ทันควัน…. “ถ้าแพ้ลูกเฟื่องถอดเครื่องจำหนำ” (จำหนำ = จำนำ)
       ตอนที่ประชันโรงกับโนราวาดร้องว่า… “ไม่เกรงใจพ่อตาโนราวัน จะเอามันให้ฉาดทั้งวาดวิน” (ฉาด = หมด) ซึ่งในที่สุดต่อมามโนราห์เติมซึ่งได้โนราวินพี่สาวเป็นภรรยาอยู่ก่อนแล้ว ต่อมาก็ได้โนราวาดน้องสาว ซึ่งเป็นลูกโนราวันอีกคนมาเป็นภรรยาจนได้จริงๆ

ประเพณีลอยโคมของภาคเหนือ

 

ประเพณีลอยโคม งานประเพณีพื้นบ้านในวันเพ็ญเดือน ๑๒ ของชาวล้านนาจังหวัดเชียงใหม่ ที่มีความเชื่อในการปล่อย โคมลอยซึ่งทำด้วยกระดาษสาติดบนโครงไม้ไผ่แล้วจุดตะเกียงไฟตรงกลางเพื่อให้ไอความร้อนพาโคมลอยขึ้นไปในอากาศเป็นการปล่อยเคราะห์ปล่อยโศกและเรื่องร้ายๆต่างๆ ให้ไปพ้นจากตัว

ประเพณีปอยส่างลอง

ประเพณีปอยส่างลอง
ช่วงเวลา
          ระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน ระยะเวลา 3-7 วัน โดยทั่วไปนิยมจัดงาน 3 วัน

ความสำคัญ 
          “ปอยส่างลอง” เป็นงานประเพณีบวชลูกแก้วของไทยใหญ่ เป็นการบรรพชาสามเณรให้สืบทอดพระพุทธศาสนา และเพื่อเรียนรู้พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า โดยมีความเชื่อว่า ถ้าได้บวชให้ลูกของตนเป็นสามเณรจะได้อานิสงฆ์ 8 กัลป์ บวชลูกคนอื่นเป็นสามเณรได้อานิสงฆ์ 4 กัลป์ และหากได้อุปสมบทลูกของตนเป็นพระภิกษุสงฆ์ จะได้อานิสงฆ์ 12 กัลป์ และได้อุปสมบทลูกคนอื่นจะได้อานิสงฆ์ 8 กัลป์ และเพื่อเป็นการสืบทอดประเพณีที่มีมาดั้งเดิม

ประเพณีและวัฒนธรรม : ประเพณีปอยส่าง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

พิธีกรรม 
          มี 2 วิธีคือ แบบที่เรียกว่า ข่ามดิบ และแบบส่างลอง 
          1. แบบข่ามดิบ เป็นวิธีการแบบง่าย ๆ คือ พ่อแม่จะนำเด็กไปโกนผมที่วัดหรือที่บ้าน เสร็จแล้วนุ่งขาวห่มขาว เตรียมเครื่องไทยทานอัฐบริขารไปทำพิธีบรรพชาเป็นสามเณรที่วัด พระสงฆ์ประกอบพิธีให้ก็เป็นสามเณร 
          2.  แบบส่างลอง จะเป็นวิธีการที่จัดงานใหญ่โดยทั่ว ไปจะจัดงานกัน 3 วัน วันแรกเรียกว่า วันรับส่างลองในตอนเช้าจะ โกนผมแล้วแต่งชุดลำลอง ซึ่งเครื่องแต่งกาย จะประดับด้วยเครื่องประดับที่มีค่า โพกศรีษะเหมือนชาวพม่า นุ่งผ้าโสร่ง ทาแป้ง เขียนคิ้วทาปาก แห่ขอขมาศาลเจ้าประจำหมู่บ้าน ขอขมาพระสงฆ์ ที่วัดและญาติผู้ใหญ่ และผู้ที่เคารพรักใคร่ชอบพอ ตลอดทั้งวันจะรับประทาน อาหารที่บ้านเจ้าภาพ   วันที่สองเป็นวันที่แห่งเครื่องไทยทาน และส่งไปที่วัดเลี้ยง อาหราผู้ที่มาร่วมขบวนแห่ และพิธีทำขวัญส่างลอง เลี้ยงอาหารซึ่งถือว่ามื้อนี้เป็นอาหาร มื้อพิเศษจะประกอบด้วยอาหาร 12 อย่างแก่ส่างลองด้วย  วันที่สาม เป็นวันบรรพชาสามเณร ในตอนบ่ายจะแห่ส่างลองไปที่วัดและทำพิธีบรรพชา เป็นอันเสร็จพิธี ประเพณีและวัฒนธรรม ปอยส่างลอง

สาระ 
          1. ผู้ที่ผ่านการบรรพชาเป็นสามเณรจะได้รับการยกย่องเรียกคำว่า ส่าง นำหน้าชื่อตลอดไป 
          2. ผู้ที่ผ่านการอุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์จะได้รับยกย่องเรียกคำว่า หนาน นำหน้าชื่อตลอดไป 
          3. บิดาที่จัดบรรพชาให้ลูกเป็นสามเณร จะได้รับยกย่องเรียกคำว่าพ่อส่าง นำหน้าชื่อตลอดไป 
          4. มารดาที่ได้จัดบรรพชาให้ลูกเป็นสามเณรจะได้รับยกย่องเรียกคำว่าแม่ส่าง นำหน้าชื่อตลอดไป 
          5. บิดาที่จัดบรรพชาลูกเป็นพระภิกษุจะได้รับยกย่องเรียกคำว่า พ่อจาง นำหน้าชื่อตลอดไป 
          6. มารดาที่จัดบรรพชาลูกเป็นพระภิกษุ จะได้รับยกย่องเรียกคำว่า แม่จาง นำหน้าชื่อตลอดไป 
          7. การจัดงานปอยส่างลอง เป็นการสืบทองพระพุทธศาสนา และก่อให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ

ประเพณีรากพระหรือชักพระ

 
 
ประเพณีลากพระหรือชักพระ
ช่วงเวลา วันออกพรรษา (วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑)
ความสำคัญ
เป็นประเพณีเนื่องในพุทธศาสนา กระทำกันหลังวันมหาปวารณาหรือวันออกพรรษา ๑ วัน คือตรงกับวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ โดยพุทธศาสนิกชนพร้อมใจกันอาราธนาพระพุทธรูปขึ้นประดิษฐานบนบุษบกที่วางอยู่เหนือเรือ รถ หรือล้อเลื่อนที่ชาวบ้านเรียกว่า “พนมพระ” แล้วแห่แหนชักลากไปตามถนนหนทาง หรือในลำน้ำ แล้วแต่สภาพภูมิประเทศจะเหมาะสม ซึ่งชาวใต้ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงมาหลายจังหวัดจะมีประเพณีนี้
ประเพณีลากพระของชาวใต้มีมาแต่โบราณและก่อให้เกิดวัฒนธรรมอื่น ๆ สืบเนื่องหลายอย่าง เช่น ประเพณีการแข่งขันเรือพาย การประชันโพนหรือแข่งโพน กีฬาซัดต้ม การทำต้มย่าง การเล่นเพลงเรือ เป็นต้น นอกจากนั้นประเพณีชักพระยังก่อให้เกิดการรวมกลุ่มกันทำคุณงามความดี ก่อให้เกิดความสามัคคีธรรมของหมู่คณะ นำความสุขสงบมาให้สังคมพิธีกรรม
เมื่อเดือน ๙ ผ่านไป หลายวัดที่ตั้งใจแน่วแน่ว่าจะร่วมประเพณีลากพระในเดือน ๑๑ ก็เริ่มเตรียมการหุ้มโพนเพื่อใช้ “คุมโพน” (ประโคมล่วงหน้า) และใช้ประโคมในวันพิธี รวมทั้งให้ชาวบ้านนำไปประชันหรือแข่งขันกับวัดอื่น ๆ การหุ้มโพนมีกรรมวิธีที่ซับซ้อนทั้งในขุดและขึงหนังตึงเต็มที่ โดยใช้เวลานานแรมเดือนบางวัดมีพิธีไสยศาสตร์ประกอบด้วย แต่ละวัดจะต้องมีโพน ๒ ใบ ให้เสียงทุ้ม ๑ ใบ เสียงแหลม ๑ ใบ วัดไหนมีโพนเสียงดีแข่งขันชนะชาวบ้านก็พลอยได้หน้าชื่นชมยินดีกันไปนานแรมปี
เมื่อใกล้วันลากพระ ประมาณ ๗ หรือ ๓ วัน ทุกวัดที่จะทำการลากพระก็จะเริ่มคุมโพน (ตีประโคม) เพื่อปลุกใจชาวบ้านให้กระตือรือร้นร่วมพิธีลากพระและอาจนำไปท้าทายแข่งขันกับวัดใกล้เคียง พร้อมกันนั้นภิกษุสามเณรและอุบาสกที่มีฝีมือทางช่างก็ช่วยกันตกแต่งเรือพระและพนมพระ (บุษบก) ซึ่งต้องทำกันสุดฝีมือ ทางช่างก็ช่วยกันตกแต่งเรือพระและพนมพระ (บุษบก) ซึ่งต้องทำกันสุดฝีมือ สำหรับอาราธนาพระพุทธรูปประดิษฐาน ถ้าลากทางน้ำเรียกว่า “เรือพระน้ำ” ซึ่งจะใช้เรือจริง ๆ มาประดิษฐ์ตกแต่งถ้าลากพระทางบกเรียกว่า “เรือพระบก” และจะใช้รถหรือล้อเลื่อนประดิษฐ์ตกแต่งให้เป็นรูปเรือ เรือพระน้ำจะใช้เรือสำปั้นหรือเรือสำหรับลากจูง ขนาดบรรทุกความจุประมาณ ๓-๕ เกวียน สมัยก่อนนิยมใช้เรือ ๒-๓ ลำ ผูกขนานกัน ปัจจุบันใช้เพียงลำเดียวเพราะหาเรือยาก
ถ้าเป็นเรือพระบก โบราณจะทำเป็นรูปเรือให้คล้ายกับเรือจริงมากที่สุด แต่ต้องพยายามให้มีน้ำน้อย จึงมักใช้ไม้ไผ่สานหรือเสื่อกระจูดมาตกแต่งตรงส่วนที่เป็นแคมเรือและหัวท้ายเรือ การตกแต่งเรือพระบกมักแต่งหัวเรือและท้ายเรือเป็นรูปพญานาค อาจทำเป็นพญานาค ๕ ตัว หรือ ๗ ตัว ใช้กระดาษสีเงิน สีทอง หรือกระดาษสีสะท้อนแสงฉลุลวดลายสวยงามทำเป็นเกล็ดนาค สะท้อนแสงระยิบระยับไปทั้งลำ
ส่วนสำคัญที่สุดของเรือคือ บุษบกจะบรรจงตกแต่งกันอย่างสุดฝีมือ หลังคาบุษบกนิยมทำเป็นแบบจตุรมุขหรือจตุรมุขซ้อน รูปทรงชะลูด งามสง่าสะดุดตาตกแต่งด้วยหางหงส์ ช่อฟ้า ใบระกา ตัวลำยอง กระจัง ฐานพระ บัวปลายเสา คันทวย เป็นต้น เสาบุษบกมีลายแทงหยวก หรือใช้กระดาษสีหรือฉลุลวดลายปิดอย่างประณีตบรรจงงดงามอย่างได้สัดส่วน ยอดบุษบกจะเรียวชะลูด ปลายสุด มักใช้ลูกแก้วฝังหรือติดไว้ เมื่อต้องแสงแดดจะทอแสงระยิบระยับ
จากปลายบุษบกจะมีธงทำด้วยผ้าหลากสี ผู้ห้อยโยงไปยังส่วนต่าง ๆ ของประทุน หัวและท้าย นอกจากเพื่อความสวยงามแล้ว ยังช่วยพยุงให้บุษบกทรงตัวอยู่ได้อย่างมั่นคง
พระพุทธรูปที่นำมาประดิษฐานประจำเรือพระเรียกว่า “พระลาก” ซึ่งแต่ละวัดจะมีพระประจำวัด เป็นพระพุทธรูปปางคันธารราษฎร์ (ปางขอฝน) เพราะชาวใต้เชื่อว่าการลากพระนอกจากจะได้บุญแล้ว ยังช่วยให้ฝนตกต้องตามฤดูกาลอีกด้วย นอกจากนั้นยังมีความเชือกันว่าขณะที่ลากพระนั้นถ้ามีใครแอบเอาเศษไม้ไปสอดไว้ที่ฐานพระลากจะก่อให้เกิดการทะเลาะวิวาทขึ้นระหว่างผู้ที่ลากพระด้วยกัน จึงต้องคอยระวังดูแลอย่างใกล้ชิด
อีกส่วนหนึ่งที่เรือพระจะขาดเสียไม่ได้คือ ที่สำหรับแขวนต้มบูชาพระ เพราะพุทธศาสนิกชนทุกครัวเรือนจะพยายามนำต้มไปแขวนบูชาพระลากตามคติความเชื่อให้ครบถ้วนเท่าจำนวนพระ (ซึ่งจะเท่ากับจำนวนวัดที่ลากพระ)
สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่อยู่คู่เคียงกับประเพณีชักพระคือ ข้าวต้ม ดังนั้น ก่อนวันลากพระจะมาถึง ๑-๒ วัน ชาวบ้านจะสาละวนอยู่กับการแทงต้ม ซึ่งเริ่มจากการเตรียมหายอดกระพ้อ นำข้าวสารเหนียวมาแช่ให้อิ่มตัวแล้วผัดด้วยกะทิให้เกือบสุก (บางรายนิยมแทรกด้วยถั่ว เรียกว่า “ต้มใส่ถั่ว”) ซึ่งต้องต้มถั่วเหลืองหรือถั่วดำให้สุกเสียก่อน เมื่อผัดข้าวเหนียวเข้ากับกะทิจนเกือบจะได้ที่แล้ว จึงค่อยผสมถั่วคลุกเคล้าลงไปให้เข้ากันดี แล้วตักใส่ภาชนะวางทิ้งไว้ให้เย็นแล้วจึงนำมาห่อด้วยใบกระพ้อ ห่อเป็นรูปสามเหลี่ยมคล้ายฝักกระจับ แต่ละลูกจะมีขนาดโตประมาณกิน ๒-๓ คำ การก่อตัวต้องรู้วิธีม้วนขอดปลายใบกระพ้อขึ้นรูปเป็นมุมแรกสำหรับยัดข้าวเหนียวใส่ รู้วิธีการพันห่อ การสอดซ่อนปลายโคนใบและดึงปลายเพื่อให้รัดแน่นได้รูปทรงสามเหลี่ยมสวยงาม เรียกวิธีการห่อต้มว่า “แทงต้ม” เมื่อแทงต้มเสร็จแล้วจึงนำไปต้มจนน้ำแห้งขอด จะได้ต้มที่สุกเหนียว
หอม อร่อย บางคนอาจใช้วิธีการนึ่งได้
เมื่อถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ บรรดาชาวบ้าน อุบาสก อุบาสิกาจะพร้อมกันอัญเชิญพพระพุทธรูปสำหรับใช้เป็นพระลากมาทำพิธีสรงน้ำ ขัดถูก ซึ่งจะใช้มะขามเปียก มะเฟือง หรือส้มอื่น ๆ เพื่อให้แลดูสวยงาม เปลี่ยนผ้าทรงและสมโภช ในคืนนั้น จะต้องเร่งรีบเตรียมเรือพระให้เสร็จสิ้นพร้อมสรรพทุกประการ

สาระ
เมื่อถึงเช้าตรู่ของวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ จะอาราธนาพระพุทธรูปขึ้นประดิษฐานบนบุษบกเหนือเรือพระ นิมนต์พระภิกษุในวัดนั้นทั้งหมดขึ้นนั่งประจำเรือพระ พร้อมทั้งอุบาสกและศิษย์วัดที่จะติดตามและประจำเครื่องประโคมอันมี โพน (กลองเพล) ฆ้อง โหม่ง ฉิ่ง ฉาบ แล้วชาวบ้านก็จะช่วยกันลากเรือพระออกจากวัด (ภิกษุที่จะร่วมไปด้วยต้องรับฉันภัตตาหารเช้าให้เรียบร้อยเสียก่อน) ถ้าเป็นลากพระทางน้ำก็จะใช้เรือพายลาก ถ้าเป็นการลากพระทางบกก็จะใช้คนเดินลากแล้วแต่กรณี
ขณะที่ลากเรือพระไปใครจะมาร่วมแขวนต้มบูชาพระ หรือร่วมลากตอนไหนก็ได้ เกือบทุกท้องถิ่นกำหนดให้มีจุดนัดหมาย เพื่อให้บรรดาเรือพระทั้งหมดในละแวกใกล้เคียงไปชุมนุมในที่เดียวกันในเวลาก่อนพระฉันเพล ให้พุทธศาสนิกชนได้มีโอกาส “แขวนต้ม” และถวายภัตตาหารแก่พระภิกษุสามเณรได้ทั่วทุกวัดหรือมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โอกาสนี้จึงก่อให้เกิดการประกวดประชันกันขึ้นโดยปริยาย เช่น การประกวดเรือพระ การแข่งขันเรือพาย การเล่นเรือโต้แก้จำกัด การประกวดเรือเพรียวประเภทต่าง ๆ เช่น มีฝีพายมากที่สุด แต่งตัวสวยงามที่สุด หรือตลกขบขัน หรือมีความคิดริเริ่มดี มีการแข่ง
ขันตีโพนประเภทตีดัง ตีทน ตีท่าพลิกแพลง ลีลาการตีสวยงาม เป็นต้น และบางทีก็มีกิจกรรมแปลก ๆ เช่น กีฬาซัดต้ม
การประกวดเรือพระสมัยก่อนมักให้รางวัลเป็นของที่จำเป็นสำหรับวัด เช่น น้ำมันก๊าด กาน้ำ ถ้วยชาม สบง จีวร เสนาสนะสงฆ์ แต่ปัจจุบันรางวัลมักจะให้เป็นเงินสด
สำหรับในท้องถิ่นจังหวัดปัตตานี การชักพระทางบก ตามที่ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าให้ฟังว่า วัดสุวรรณากร (บ่อทอง) วัดโมลีนิมิตร (วัดหรั่ง) วัดหน้าเกตุ วัดมะกรูด วัดปุราณประดิษฐ์ (วัดบู) วัดมะเดื่องทอง (กาโผะ) วัดสมุทรวารี (ป่าโทะ) วัดโรงวาส และวัดใกล้เคียงในอำเภอหนองจิก อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี และอำเภอเทพา อำเภอจะนะ อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา ได้ชักลากพระวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ไปตามเส้นทางสู่หน้าที่ว่าการอำเภอโคกโพธิ์ เป็นจุดหมายปลายทาง และมีการเฉลิมฉลองกันอย่างสนุกสนาน มีมหรสพให้ชมตลอดทั้งคืน มีการประกวดเรือพระ รุ่งเช้าจะมีการทำบุญเลี้ยงพระ ตกช่วงบ่ายชักชวนกันลากพระกลับวัด ปัจจุบันประเพณีชักพระอำเภอโคกโพธิ์ มีการสมโภชและการเฉลิมฉลองกันเป็นเวลา ๗ วัน ๗ คืน ซึ่งเป็นประเพณีที่ภาคภูมิใจของชาวไทยพุทธ
ส่วนการชักพระทางน้ำ ทุกวัดต้องมีการสร้างพระเรือครัว เรือพายหญิง เรือพายชาย ตกแต่งประดับประดาอย่างสวยงาม และจะมีการลากพระล่วงไปตามลำน้ำยามูสู่บ้านท่าทราย ใต้ต้นไทรใหญ่กิ่งไพศาลริมน้ำยามู รวมหมู่เทียบเรือพระสมโภชตักบาตร เลี้ยงพระเสร็จแล้วมีการแข่ง ขันเรือพายหญิง เรือพายชาย ไล่สาดน้ำกัน เกี้ยวพาราสี ร้องเพลงขับกล่อมตามประเพณีนิยมท้องถิ่นจนพลบค่ำ
ประเพณีลากพระได้ปรับเปลี่ยนเติมแต่งต่างออกไปจากเดิมหลายอย่าง เช่น นิยมใช้เรือหางยาวแทนเรือเพรียว เพราะจากเรือขนาดใหญ่ทำเรือพระได้ยากขึ้น มีการใช้รถยนต์มาดัดแปลงแทนล้อเลื่อน มีการตกแต่งบุษบกหรือ “นมพระ” ด้วยวัสดุสมัยใหม่ เช่น โฟม กระดาษ พลาสติก หลังคาซ้อนกันเป็นจตุรมุขก็มี บางวัดมีการนำเอากลองยาวมาประกอบขบวนแห่ มีการตั้งหีบรับเงินอนุโมทนา ติดตั้งเครื่องขยายเสียง ชักชวนให้มีการทำบุญหรือเรี่ยไร ประชาชนหันมานิยมซื้อต้มจากตลาดแทนการทำเอามากขึ้น ปรากฏการณ์หลายอย่างที่เปลี่ยนแปลงไปจะดีหรือไม่คงไม่มีใครตอบได้ ขอให้ท่านพิจารณาไตร่ตรองเอาเองตามสมควรเถิด

     

การแต่งกาย 4 ภาค

  

ภาคเหนือ

การแต่งกายของภาคเหนือ

เป็นสิ่งสำคัญสิ่งหนึ่ง ที่บ่งบอกเอกลักษณ์ของคนแต่ละพื้นถิ่น สำหรับในเขตภาคเหนือหรือดินแดนล้านนาในอดีต ปัจจุบันการแต่งกายแบบพื้นเมืองได้รับความสนใจมากขึ้น แต่เนื่องจากในท้องถิ่นนี้มีผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์อาศัยอยู่ เช่น ไทยวน ไทลื้อ ไทเขิน ไทใหญ่ และอิทธิพลจากละครโทรทัศน์ ทำให้การแต่งกายแบบพื้นเมืองมีความสับสนเกิดขึ้น ดังนั้นคณะทำงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม กลุ่มสถาบันอุดมศึกษาภาคเหนือ จึงได้ระบุข้อไม่ควรกระทำในการแต่งกายชุดพื้นเมือง ของ “แม่ญิงล้านนา” เอาไว้ว่า
1.ไม่ควรใช้ผ้าโพกศีรษะ ในกรณีที่ไม่ใช่ชุดแบบไทลื้อ
2. ไม่ควรเสียบดอกไม้ไหวจนเต็มศีรษะ
3. ไม่ควรใช้ผ้าพาดบ่าลากหางยาว หรือคาดเข็มขัดทับ และผ้าพาดที่ประยุกต์มาจาก ผ้าตีนซิ่นและผ้า “ตุง” ไม่ควรนำมาพาด
4. ตัวซิ่นลายทางตั้งเป็นซิ่นแบบลาว ไม่ควรนำมาต่อกับตีนจกไทยวน

 

ภาคอีสาน

ลักษณะการแต่งกาย
ผู้ชาย ส่วนใหญ่นิยมสวมเสื้อแขนสั้นสีเข้มๆ ที่เราเรียกว่า “ม่อห่อม” สวมกางเกงสีเดียวกับเสื้อจรดเข่า นิยมใช้ผ้าคาดเอวด้วยผ้าขาวม้า
ผู้หญิง การแต่งกายส่วนใหญ่นิยมสวมใส่ผ้าซิ่นแบบทอทั้งตัว สวมเสื้อคอเปิดเล่นสีสัน ห่มผ้าสไบเฉียง สวมเครื่องประดับตามข้อมือ ข้อเท้าและคอ
 

                ภาคกลาง

ลักษณะการแต่งกาย
ผู้ชาย สมัยก่อนการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง นิยมสวมใส่โจงกระเบนสวมเสื้อสีขาว ติดกระดุม 5 เม็ด ที่เรียกว่า “ราชประแตน” ไว้ผมสั้นข้างๆตัดเกรียนถึงหนังศีรษะข้างบนหวีแสกกลาง

ผู้หญิง สมัยก่อนการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง นิยมสวมใส่ผ้าซิ่นยาวครึ่งแข้ง ห่มสไบเฉียงตามสมัยอยุธยา ทรงผมเกล้าเป็นมวย และสวมใส่เครื่องประดับเพื่อความสวยงาม

ภาคใต้

การแต่งกายของชาวใต้ การแต่งกายนั้นแตกต่างกันในการใช้วัสดุ และรูปแบบโดยมีเอกลักษณ์ไปตามเชื้อชาติ ของผู้คนอันหลากหลายที่เข้ามาอยู่อาศัยในดินแดนอันเก่าแก่แห่งนี้พอจำแนกเป็น
กลุ่มใหญ่ๆ ได้ดังนี้ี้
1. กลุ่มเชื้อสายจีน – มาลายู เรียกชนกลุ่มนี้ว่ายะหยา หรือ ยอนย่า เป็นกลุ่มชาวจีน เชื้อสายฮกเกี๊ยนที่มาสมรสกับชนพื้นเมืองเชื้อสายมาลายู ชาวยะหยาจึงมีการแต่งกายอันสวยงาม ที่ผสมผสาน รูปแบบของชาวจีนและมาลายูเข้าด้วยกันอย่างงดงาม ฝ่ายหญิงใส่เสื้อฉลุลายดอกไม้ รอบคอ,เอว และปลายแขนอย่างงดงาม นิยมนุ่งผ้าซิ่นปาเต๊ะ ฝ่ายชายยังคงแต่งกาย คล้ายรูปแบบจีนดั้งเดิมอยู่
2. กลุ่มชาวไทยมุสลิม ชนดั้งเดิม ของดินแดนนี้นับถือศาสนาอิสลาม และมี เชื้อสายมาลายู ยังคงแต่งกายตามประเพณี อันเก่าแก่ฝ่ายหญิงมีผ้าคลุมศีรษะ ใส่เสื้อผ้ามัสลิน หรือลูกไม้ตัวยาวแบบมลายูนุ่งซิ่นปาเต๊ะ หรือ ซิ่นทอแบบมาลายู ฝ่ายชายใส่เสื้อคอตั้ง สวมกางเกงขายาว และมีผ้าโสร่งผืนสั้น ที่เรียกว่า ผ้าซองเก็ต พันรอบเอวถ้าอยู่ บ้านหรือลำลองจะใส่โสร่ง ลายตารางทอด้วยฝ้าย และสวมหมวกถักหรือ เย็บด้วยผ้ากำมะหยี่
3. กลุ่มชาวไทยพุทธ ชนพื้นบ้าน แต่งกายคล้ายชาวไทยภาคกลาง ฝ่ายหญิงนิยมนุ่งโจงกระเบน หรือ ผ้าซิ่นด้วย ผ้ายกอันสวยงาม ใส่เสื้อสีอ่อนคอกลม แขนสามส่วน ส่วนฝ่ายชายนุ่งกางเกงชาวเล หรือ โจงกระเบนเช่นกัน สวมเสื้อผ้าฝ้ายและ มีผ้าขาวม้าผูกเอว หรือพาดบ่าเวลาออกนอกบ้านหรือไปงานพิธี